วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อคิดก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน

10 ข้อต้องทำ ก่อนซื้อบ้าน






         จะเสียเงินซื้อบ้านทั้งที ก็ต้องตรวจสอบ ตรวจตรากันถึงที่สุด ระเอียดรอบคอบและใจเย็นให้มากเพราะเงินที่เสียไปไม่ใช่ร้อย สองร้อย แต่เป็นหลักแสนหลักล้าน การตรวจสอบโครงการว่าเคยถูกร้องเรียนมาแล้วหรือไม่ โดยสอบถามข้อมูลได้จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค .... 
จะเสียเงินซื้อบ้านทั้งที ก็ต้องตรวจสอบ ตรวจตรากันถึงที่สุด ระเอียดรอบคอบและใจเย็นให้มากเพราะเงินที่เสียไปไม่ใช่ร้อย สองร้อย แต่เป็นหลักแสนหลักล้าน การตรวจสอบโครงการว่าเคยถูกร้องเรียนมาแล้วหรือไม่ โดยสอบถามข้อมูลได้จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ....


1.ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจว่าเคยถูกร้องเรียนมาแล้วหรือไม่ โดยสอบถามข้อมูลได้จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมที่ดินกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ หรือในส่วนของภูมิภาคให้ตรวจสอบที่คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ณ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด


2.ตรวจสอบผลงานที่ผ่านมาว่าโครงการที่ผ่านมานั้นมีสภาพอย่างไร และทำตามสัญญาครบถ้วนหรือไม่ มีการส่งมอบบ้านหรือโอนบ้านตามกำหนดหรือไม่ สอบถามจากผู้ซื้อบ้านรายอื่น ๆ


3.ถ้าผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคลตรวจสอบว่าจดทะเบียนเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนถูกต้องแล้วหรือไม่ มีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ ชำระแล้วเท่าไหร่ แล้วนำมูลค่าของโครงการมาเปรียบ เทียบดูความเหมาะสมที่เป็นไปได้ ใครเป็นกรรมการผู้จัดการหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ สอบถาม

ได้จากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด แล้วแต่กรณี


4.ตรวจสอบที่ดินโครงการว่ามีโฉนดที่ดินถูกต้องหรือไม่ เลขที่โฉนด ใครเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินหรือยัง สอบถามได้จาก กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดแล้วแต่กรณี


5.กรณีที่จะซื้อที่ดินพร้อมบ้านจัดสรรทาวน์เฮ้าส์ หรืออาคารพาณิชย์ควรตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยว่า ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของโครงการ ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารแล้วหรือไม่โดยตรวจ สอบได้จากสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วแต่กรณี


6.ตรวจสอบที่ดินที่จะซื้อว่ามีภาระผูกพันกับนิติบุคคลหรือสถาบันการเงินใดหรือไม่ (มีการจำนองหรือขายฝากไว้กับผู้ใด) ตรวจสอบได้จาก กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด


7.ตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกของโครงการเช่น ถนน ประปาไฟฟ้า ฯลฯ ว่าเจ้าของโครงการได้ดำเนินการไว้แล้วหรือไม่ อย่างไร ถ้าไม่ได้ดำเนินการให้สอบถามก่อนการทำสัญญา ว่าจะดำเนินการเมื่อใด แล้วเสร็จเมื่อใด โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจเขียนไว้ในสัญญา โดยตรวจสอบได้จากผู้ประกอบธุรกิจ และสถานที่ตั้งโครงการ


8.ก่อนลงนามในสัญญาควรดูว่าสัญญานั้นเป็นธรรมหรือไม่ โดยตรวจดูว่ามีข้อความบ่งบอกถึงหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ขายที่ต้องปฏิบัติด้วย เช่น กำหนดวันเริ่มต้นก่อสร้าง และวันที่คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ การกำหนดระยะเวลาขั้นตอนการก่อสร้าง เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตรวจสอบการกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ รวมถึงเอกสารเกี่ยวกับการโฆษณาของผู้ประกอบธุรกิจ ควรนำมาเป็นหลักฐานแนบท้ายสัญญาด้วย


9.ศึกษาสภาพแวดล้อมของโครงการตรวจสอบว่า ทางราชการมีโครงการที่จะดำเนินการใดในบริเวณที่ดินนั้นหรือไม่ เช่น
- ตรวจสอบแนวเวนคืน
- ตรวจสอบผังเมืองว่าพื้นที่ดินบริเวณนั้นอยู่ในพื้นที่สีอะไร ซึ่งแต่ละสีจะกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินไว้ตรวจสอบว่าบริเวณนั้น มีข้อห้ามไม่ให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารๆ หรือไม่ โดยสอบถามจากกรมโยธาธิการและผังเมืองหรือสำนักงานเขตที่โครงการจัดสรรตั้งอยู่ ในต่างจังหวัดสามารถตรวจสอบได้ที่เทศบาล หรือสำนักงานโยธาจังหวัด ที่โครงการจัดสรรตั้งอยู่


10.สถานที่ตั้งโครงการนั้น สะดวกต่อการเดินทางไปทำงานหรือไม่ไม่มีมลภาวะเช่นฝุ่นละออง หรือเสียงรบกวนต่างๆ หรือมีน้ำท่วมขัง หรือไม่อยู่ใกล้กับโรงงาน ซึ่งอาจจะทำให้เดือดร้อนในภายหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น